7/1/58

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

มหาชาติ หรือ มหาเวสสันดรชาด

ที่มาของเรื่อง

สันนิษฐานว่า พบหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาและถือว่าเป็นมหาเวสสันดรชาดกที่แปลแล้วนำมาแต่งเป็นภาษาไทยเล่มแรกคือ มหาชาติคำหลวง ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระกรุณาโปรดเกล้าให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยแปลและเรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ..๒๐๒๕ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้โปรดเกล้าให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตเรียบเรียงมหาเวสสันดรชาดกเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ..๒๑๗๐ เรียกว่า กาพย์มหาชาติ แต่งแปลเป็นภาษาไทยใช้ฉันทลักษณ์เดียวคือ ร่ายยาว เพื่อใช้สำหรับเทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาได้ฟังกัน

-------------------------------------------------

ประวัติผู้แต่ง

   ๑. เจ้าพระยาพระคลัง (หน)   



เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน
เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
เป็นบุตรเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ ฦๅชัย (บุญมี) กับท่านผู้หญิงเจริญ
ถึงแก่อสัญกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ.๒๓๔๘
พระราชนิพนธ์ ในมหาเวสสันดรชาดก ๒ กัณฑ์ คือ มัทรี กุมาร

   ๒. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส   


พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวาสุกรี
ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๓
เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ
เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ได้ผนวชเป็นสามเณร ประทับ ณ พระตำหนักท่าวาสุกรี วัดพระเชตุพนฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับการสถาปนาเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส  
สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ รวมพระชนมายุ ๖๔ พรรษา
งานพระนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่ ตำราฉันท์มาตราพฤติและวรรณพฤติ ลิลิตตะเลงพ่าย สมุทรโฆษคำฉันท์ ทรงนิพนธ์ต่อจากพระมหาราชครูและสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งค้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ๑๑ กัณฑ์ เว้นกัณฑ์มหาพนและกัณฑ์มัทรี เพราะทรงเห็นว่าพระเทพโมลี (กลิ่น) และเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งกัณฑ์มัทรีไว้ดีแล้ว
พระราชนิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๕ กัณฑ์ คือ ทศพร หิมพานต์ มหาราช ฉกษัตริย์ นครกัณฑ์

   ๓. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ   



พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์
เสด็จพระราชสมภพในวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ 
เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔๓ และเป็นลำดับที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ รวมพระชนมพรรษา ๖๔ พรรษา 
พระราชนิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๓ กัณฑ์ คือ วนปเวสน์ จุลพน สักบรรพ

   ๔. พระเทพโมลี ( กลิ่น )   



เกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๒๘๓ รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีเชื้อสายรามัญ
ท่านบรรพชา-อุปสมบทวัดตองปุ อยุธยา สมัยพระเจ้าเอกทัศน์เมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย ท่านพระมหาศรี พระขุน และพระเทพโมลี ครั้งเป็นพระกลิ่น หลบภัยข้าศึกล่องลงมาทางใต้ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ท่านและคณะกลับมาอยู่วัดกลางนา (วัดตองปุหรือวัดชนะสงคราม) กรุงเทพฯ ต่อมาทราบข่าวพระอาจารย์สุกมาสถิตวัดพลับเป็นที่พระญาณสังวรเถร ทั้งสามท่านจึงตามมาอยู่วัดพลับ เรียนขอเล่าเรียนพระกรรมฐานมัชฌิมา พระมหากลิ่น และคณะทราบว่าพระอาจารย์สุก มาสถิตวัดพลับ ทรงเชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐานจึงได้เข้าไปกราบนมัสการขออนุญาตพระมหาสุเมธาจารย์เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางนา เพื่อมาศึกษาพระกรรมฐานในสำนักพระญาณสังวรเถร (สุก)
นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๑ กัณฑ์ คือ มหาพน

   ๕. สำนักวัดถนน   
นายทองอยู่เกิดที่บ้านไผ่จำศีล อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง
เมื่ออายุ ๑๐-๑๑ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ได้ผ่านวัดอยู่วัดหนึ่ง เรียกว่า วัดถนน” จึงพักอยู่วัดนี้ และอุปสมบทเรื่อยมา ท่านทองนับว่าเป็นสถาปนิกชั้นเยี่ยม ท่านสร้างเจดีย์ที่งดงาม รวมถึงแต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์ทานกัณฑ์แล้วยังแต่งบททำขวัญนาคไว้อย่างไพเราะอีกด้วย
นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๑ กัณฑ์ คือ ทานกัณฑ์

   ๖. สำนักวัดสังข์กระจาย   
เป็นชื่อสำนักที่ท่านผู้แต่งบวชอยู่ วัดนี้อยู่ริมคลองบางกอก เป็นวัดโบราณ
ท่านผู้แต่งกัณฑ์ชูชกนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงนุภาพทรงสันนิษฐานว่า คือ พระเทพมุนี (ด้วง) แต่ประวัติของท่านยังไม่เป็นที่แน่ชัด
ในพ.ศ. ๒๓๓๒ คราวเกิดอสุนีบาตตกต้องมุขพระที่นั่งอินทราภิเศกมหาปราสาทติดเป็นเพลิงไหม้ขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระแสงของ้าวเร่งข้าราชการดับเพลิงจนสงบ แล้วทรงปริวิตกว่าเห็นจะเป็นอัปมงคลนิมิตแก่บ้านพระราชาคณะที่เป็นปราชญ์ต่างได้ลงชื่อถวายชัยมงคล ซึ่งรายนามพระสงฆ์ที่ถวายพระพรครั้งนั้นมีพระเทพมุนีวัดสังข์กระจายด้วยรูปหนึ่ง นอกจากนี้ พระเทพมุนีรูปนี้ยังถวายเทศน์กัณฑ์ชูชกในรัชกาลที่ ๑ ทั้งยังเคยถวายแก้ข้อกังหาปัญหาธรรมและพระราชปุจฉา
นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๑ กัณฑ์ คือ ชูชก

-------------------------------------------------

ลักษณะการแต่ง
แต่งเป็นร่ายยาว หนึ่งบทจะมีกี่วรรคก็ได้ ส่วนมากมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งๆ มีตั้งแต่ ๖ คำขึ้นไป มีบังคับเฉพาะระหว่างวรรค คือ คำสุดท้ายของวรรคจะส่งสัมผัสไปที่คำที่ ๑ ถึง ๕ ของวรรคต่อไป เมื่อจบตอนมักมีคำสร้อย เช่น นั้นแล นี้แล
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นร่ายยาวสำหรับเทศน์ จะมีคำศัพท์บาลีขึ้นก่อนแล้วแปลเป็นภาษาไทย แล้วมีร่ายตาม ในระหว่างการดำเนินเรื่องจะมีคำบาลีคั่นเป็นระยะๆ คำบาลีนั้นมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับข้อความที่ตามมา






  การอ่านคำประพันธ์ประเภทร่าย  
นิยมอ่านหลบเสียงสูงให้ต่ำลงในระดับของเสียงที่ใช้อยู่ ส่วนเสียงตรีที่หลบต่ำลงนั้นอาจเพี้ยนไปบ้าง เช่น น้อยน้อยเป็นนอยนอย แต่เสียงจัตวา แม้จะหลบเสียงต่ำลงมักจะไม่เพี้ยน
การอ่านร่ายทุกชนิดจะอ่านทำนองเหมือนกัน คือ ทำนองสูงด้วยเสียงระดับเดียวกัน และการลงจังหวะจะอยู่ที่ท้ายวรรคของทุกวรรค ส่วนจะอ่านด้วยลีลาใดนั้น ขึ้นอยู่กับอารมณ์ตามเนื้อความ ดังนี้
เนื้อความแสดงอารมณ์เศร้า ใช้น้ำเสียงเบาลง ทอดเสียงให้ช้าลงกว่าปกติ
- เนื้อความแสดงอารมณ์โกรธ ใช้น้ำเสียงหนักแน่น เน้นเสียงดังกว่าปกติ
- เนื้อความแสดงอารมณ์ขบขัน ทำเสียงให้แสดงถึงความขบขัน
- เนื้อความบรรยายหรือพรรณนา อ่านตามอารมณ์ของเนื้อความนั้น
- เนื้อความสั่งสอน ใช้น้ำเสียงไม่ดังหรือเบาเกินไป เน้นคำที่สั่งสอน แต่ไม่ห้วน
- เนื้อความบรรยายการต่อสู้ ใช้น้ำเสียงดัง หนักแน่น ห้วน กระชับ
- เนื้อความแสดงความตกใจ ใช้น้ำเสียงหนักเบา เสียงสั่นตามเนื้อความ
เนื้อความตัดพ้อต่อว่า ใช้น้ำเสียงหนักบ้าง เน้นบ้าง สะบัดเสียงบ้าง
               การอ่านร่าย พยายามอ่านให้จบวรรค เพราะจังหวะหลักของร่ายทุกชนิดจะอยู่ที่ปลายวรรค ซึ่งเป็นคำส่งสัมผัส ส่วนจังหวะเสริมจะอยู่ที่คำรับ ดังนั้นเมื่ออ่านถึงคำรับสัมผัสจะต้องเน้นเสียงหรือทอดเสียง
               การอ่านตอนจบ ผู้อ่านจะต้องทอดเสียงให้ยาวกว่าการทิดเสียงท้ายวรรคอื่นๆ เพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่าเรื่องที่ฟังกำลังจะจบแล้ว และเป็นการสร้างความประทับใจให้ผู้ฟัง

ตัวอย่างการอ่านร่ายยาว

-------------------------------------------------

เนื้อเรื่องย่อ
   กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร มี ๑๙ พระคาถา   
กล่าวถึงพระนางผุสดีจะต้องจุติจากสวรรค์ พระอินทร์จึงประทานพร ๑๐ ประการให้พระนางผุสดี ได้แก่ ๑) ขอให้เกิดในกรุงมัทราชแคว้นสีพี ๒) ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย ๓) ขอให้คิ้วคมขำดังสร้อยคอนกยูง ๔) ขอให้ได้นามตามภพเดิมว่าผุสดี ๕) ขอให้มีพระโอรสที่เกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป ๖) ขอให้พระครรภ์งามไม่ป่องนูนตามสตรีสามัญ ๗) ขอให้มีพระถันเปล่งปลังงดงามไม่ยานคล้อยลง ๘) ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ ๙) ขอให้มีผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ   ๑๐) ขอให้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้
   กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ มี ๑๓๔ พระคาถา   
พระนางผุสดีได้จุติลงมาเป็นพระราชธิดาพระเจ้ามัททราชและได้เป็นพระมเหสีพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งแคว้นสีพี ต่อมาได้ประสูติพระเวสสันดร ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์ จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้น ให้มีนามว่าปัจจัยนาค มีคุณวิเศษคือทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พระเวสสันดรใฝ่ใจการบริจาคทานจึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคให้กับชาวเมืองกลิงคราษฏร์ ซึ่งเป็นเมืองแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพงมาหลายปี ทำให้ชาวเมืองสีพีโกรธและเรียกร้องให้พระเจ้ากรุงสญชัยทรงลงโทษพระเวสสันดร พระเจ้ากรุงสญชัยจึงทรงเนรเทศพระเวสสันดรไปจากเมือง
   กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ มี ๒๐๙ พระคาถา   
ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสีทาสาสรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐
   กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์ มี ๕๗ พระคาถา   
เมื่อเดินทางถึงนครเจตราช ทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหนาศาลาพระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราช จึงทูลเสด็จครองเมือง  แต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ  และเมื่อเสด็จถึงถึงเขาวงกต ได้พบศาลาอาศรม  ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของพระอินทร์ กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรม                                                                          
   กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก มี ๗๙ พระคาถา   
มีพราหมณ์แก่ชื่อชูชกพนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานในเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพราหมณ์เจตบุตรผู้รักษาประตูป่า
   กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน มี ๓๕ พระคาถา   
พรานเจตบุตรหลงกลชูชก ที่ได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตร อ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของเจ้ากรุงสญชัยจะนำไปถวายพระเวสสันดร พรานเจตบุตรจึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี
   กัณฑ์ที่ ๗ มหาพล มี ๘๐ พระคาถา   
เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกได้พบกับจุตฤๅษี ชูชกใช้คารมหลอกล่อจุตฤๅษี พระฤาษีหลงเชื่อจึงให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร
   กัณฑ์ที่ ๘ กุมาร มี ๑๐๑ พระคาถา   
ชูชกเข้าไปขอสองกุมาร พระเวสสันดรพระราชทานให้ สองกุมารรู้ความจึงหนีไปอยู่ในสระบัว พระเวสสันดรตามไปพูดจาให้สองกุมารเข้าใจ สองกุมารจึงขึ้นจากสระบัว ชูชกพาสองกุมารเดินทางโดย  เร่งรีบด้วยเกรงว่าหากพระนางมัทรีกลับจากหาผลไม้ก่อนจะเสียการ
   กัณฑ์ที่ ๙ มัทรี มี ๙๐ พระคาถา   
พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจจึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงตกพระทัย ลืมตนว่าเป็นดาบส จึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษพระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบนางจึงได้ทรงอนุโมทนา
   กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ มี ๔๓ พระคาถา    
พระอินทร์เกรงว่าหากมีใครมาขอพระนางมัทรีจากพระเวสสันดร ก็จะทำให้พระเวสสันดรบำเพ็ญภาวนาไม่สะดวก ด้วยไม่มีผู้คอยปรนนิบัติ ดังนั้นพระอินทร์จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เฒ่าลงมาขอและได้ให้พรแปดประการแก่พระเวสสันดร รวมทั้งยังฝากฝังพระนางมัทรีไว้ให้อยู่ปรนนิบัติพระเวสสันดรด้วย
   กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช มี ๖๙ พระคาถา    
เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ส่วนตนปีนขึ้นไปนอนบนต้นไม้ เหล่าเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมารจนเดินทางถึงกรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสองพระองค์ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร ในขณะเดียวกันเจ้านครกลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี
   กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ มี ๓๖ พระคาถา   
พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วัน จึงเดินถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่าทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนนครสีพี จึงชวนนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดา ได้ทรงตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และหวยหาญได้หายเศร้าโศก
   กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ มี ๔๘ พระคาถา    
หกกษัตริย์ยกพลกลับคืนพระนคร พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรีและเสด็จกลับสู่สีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชนท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ๗ ประการตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าคลังหลวง
ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ

-------------------------------------------------


หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

มงคลสูตรคำฉันท์

เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือ...อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรง...อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

เรื่องหัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติเพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิตเมื่อ...อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทร์คำโคลงมีลักษณะเป็นนิราศแท้ คือมีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่า...อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

นิทานเวตาล (เรื่องที่10)

นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ...อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่...อ่านเพิ่มเติม